0

Wishlist

10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"

10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"

ช่วงเวลาเริ่มต้นทำธุรกิจคือช่วงที่ดีที่สุดในการสร้างความเคยชินดีๆ ที่สามารถทำให้การดำเนินงานของคุณง่ายขึ้นในขณะที่ธุรกิจกำลังเติบโตไปเรื่อยๆ และข้างล่างนี้คือเคล็ดลับ 10 วิธีในการทำให้ธุรกิจของคุณง่ายขึ้น และที่สำคัญ...คุณเริ่มทำได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้!



แต่ละปีที่ผ่านไปได้มีแนวโน้มใหม่ๆ เกิดขึ้นในการเริ่มธุรกิจและได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา แต่ความคิดหนึ่งที่ใครๆ ก็มักเข้าใจผิดกันว่าการเริ่มทำธุรกิจนั้น "รวยเร็ว" ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่าเอาเสียเลยหากคุณคิดว่าแค่ทำธุรกิจปุ๊บ เงินล้านก็จะลอยมาหาคุณปั๊บ ประหนึ่งว่าถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง

แต่ในความเป็นจริง การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และได้รับผลตอบแทนกลับมาเป็น "ความรวย" นั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งวิสัยทัศน์ที่แจ่มชัด, ความทะเยอทะยานและทุ่มเท ตลอดจนการทำงานอย่างหนัก

หรือในอีกแง่หนึ่ง มันเป็นการดีกว่าหากคุณรู้วิธีในการเริ่มทำธุรกิจอย่างง่ายๆ หลายคนอาจมีไอเดียก็จริง แต่ก็ต้องหยุดชะงักเมื่อพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้ต้องถอดใจไปเสียก่อนจะเริ่มต้น มันจะดีกว่าไหมหากคุณรู้เคล็ดลับในเริ่มทำธุรกิจให้ "ง่ายที่สุด" เท่าที่จะทำได้ และทำให้ธุรกิจของคุณไปได้ "เร็วที่สุด" เท่าที่จะเป็นไปได้?

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการมักพบเจอเสมอๆ ในการเริ่มต้นทำธุรกิจก็คือภารกิจที่ "ยุ่งเหยิง" เกินไป ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด การทำบัญชี (รวมทั้งยังต้องควบตำแหน่ง "ท่านประธาน" อีกด้วย) แต่เมื่อไรที่ถึงเวลาที่ธุรกิจเริ่มอยู่ตัว คุณก็เริ่มถอยออกมาได้เมื่อนั้น

และเมื่อคุณกำลังอยู่ในช่วงระหว่างทางนั้นล่ะก็ นี่คือคำแนะนำในการทำธุรกิจในช่วงเริ่มต้นอย่างฉลาดๆ ที่คุณควรจำไว้เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณง่ายขึ้นทั้งในวันนี้และในอนาคต...

1. วางแผนทางด้าน "เทคโนโลยี" เอาไว้บ้าง! การลงทุนด้วยการจัดหาเซิร์ฟเวอร์ และเครือข่ายปรินเตอร์ที่มีความสามารถสูงนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ถึงแม้ว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณยังไม่จำเป็นต้องใช้มันมากนักก็ตาม คุณอาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหน่อยนึงในการจัดหาอุปกรณ์ดีๆ แต่ว่ามันก็จะใช้ได้นาน และคุณก็ไม่ต้องมาคอยอัพเกรดบ่อยๆ ให้เสียเวลา

2. ใช้ซอฟต์แวร์ด้านการบัญชี ลองมองหาโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่สามารถจัดทำใบแจ้งราคาสินค้าได้อย่างอัตโนมัติ รวมถึงการแจ้งเตือนทางอีเมลแก่ลูกค้าเพื่อแจ้งการชำระเงินล่าช้า และในทำนองเดียวกัน โปรแกรมซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังสามารถสร้างรายการฝากถอนได้อย่างอัตโนมัติ และยังสามารถคัดแยกค่าธรรมเนียมต่างๆ ออกเป็นรายการแต่ละรายการ เพื่อให้คุณมุ่งดูได้เฉพาะรายการสำคัญๆ อย่าง ยอดขาย และการตลาด เป็นต้น

3. ตัดสินใจว่าจะ "เอาท์ซอร์ส" อะไรดี? ผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องว่าจ้างผู้ชำนาญจากภายนอก ให้จัดทำระบบบัญชีของฝ่ายต่างๆ การตลาด งานธุรการ งานต้อนรับ และตัดสินใจเลือกว่าคุณอยากทำงานด้านไหนน้อยที่สุด ลองใช้โปรแกรมวิเคราะห์ต้นทุนด้วยการคำนวณเวลาและเงินเดือนที่จ่ายไปในแต่ละงาน และจากนั้นก็ลองจัดงบประมาณการลงทุนด้านซอฟต์แวร์ดู ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจว่าจะทำงานใดต่อไป หรือจะเอาท์ซอร์สงานใดออกไปให้บริษัทภายนอก

4. จัดตั้งระบบ "ออนไลน์เพย์เมนต์" ลูกค้าไฮเทคหลายๆ คนมักคาดหวังที่จะทำธุรกรรมออนไลน์ได้ ลองดูตัวอย่างของ "PayPal" ซึ่งเป็นระบบการให้บริการการชำระเงินออนไลน์ของอีเบย์ ที่ให้บริการอย่างรวดเร็ว จ่ายเงินได้ทันที และเป็นวิธีที่ปลอดภัยในการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต และการหักบัญชีจากธนาคารต่างๆ โดยค่าธรรมเนียมจาก PayPal จะถูกเรียกเก็บจากการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง แต่จะไม่มีค่าธรรมเนียมรายเดือน ค่าเกตเวย์ หรือค่าติดตั้งระบบต่างๆ และคุณยังจะได้รับบริการเกี่ยวกับเครื่องมือทางการค้าจากอีเบย์ได้ฟรี รวมถึงวิธีป้องกันเมลลวงหรือการฉ้อฉลออนไลน์ต่างๆ

5. พยายามรักษาเงินสดเอาไว้ คุณต้องจ่ายให้บริการทางธนาคารทุกๆ เดือนหรือไม่ และจ่ายเดือนละเท่าไร? ธนาคารของคุณสามารถให้บริการวิเคราะห์รายการเดินบัญชี ที่สามารถอธิบายค่าธรรมเนียมการให้บริการในรายการได้ทั้งหมด คุณอาจสามารถลดค่าธรรมเนียมเหล่านี้ได้หากหมั่นดูรายการบัญชีอย่างต่อเนื่อง

6. ทำประกันภัยกับตัวแทนเพียงรายเดียว ต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยของคุณทั้งหมดในครั้งเดียว ผ่านทางตัวแทนเพียงรายเดียว ในขณะที่คุณอาจจะต้องจ่ายเงินมากขึ้นอีกนิด แต่คุณก็จะเสียเวลาเพียงครั้งเดียวในรอบปี เพื่อจัดหากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับธุรกิจของคุณทั้งหมด ดีกว่าจะต้องมาคอยต่ออายุกรมธรรม์หลายกรมธรรม์ให้วุ่นวาย คุณจะประหยัดเวลา และตัวแทนของคุณจะดูแลลูกค้ารายเดียวที่มีหลากหลายกรมธรรม์ได้ดีกว่าลูกค้าที่มีเพียงกรมธรรม์เดียว

7. เพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับ "พนักงานขาย" เมื่อคุณเริ่มทำธุรกิจ และมีพนักงานขายหรือ "เซลส์แมน" แวะมาเยี่ยมเยียนเสมอๆ แต่พวกเขามักมาในจังหวะที่ไม่ค่อยดีเสมอใช่หรือไม่? ลองจัดช่วงเช้าหรือบ่ายของสักวันหนึ่งในสัปดาห์เท่านั้น ที่พนักงานขายจากที่ต่างๆ สามารถเข้าถึงคุณได้ ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารถรับมือกับพนักงานขายเหล่านี้ให้เป็นไปตามตารางกิจวัตรประจำวันของคุณได้

8. จ้างคนให้ถูกกับงาน ผู้ที่กำลังเริ่มทำธุรกิจใหม่มักจะสัมภาษณ์ทุกคนที่สมัครงานเข้ามาเสมอ แต่วิธีนี้ไม่ถูกต้อง ขอแนะนำให้คุณควรลองยอมเสียเวลาดูสักหน่อย ในการสร้างใบสมัครออนไลน์ที่จะจำกัดผู้สมัคร และกลั่นกรองจากระดับคุณสมบัติ การศึกษา และเงินเดือนที่เรียก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติตรงตามต้องการได้ดีขึ้น และคุณจะได้ผู้สมัครที่ดีที่สุด 5 คนแรกเท่านั้น เพื่อทำการสัมภาษณ์ มันก็เหมือนกับการ "คัดออก" ที่มีประสิทธิภาพกว่าเมื่อเทียบกับการ "คัดเข้า" นั่นเอง

9. จัดตารางให้ดีขึ้น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการกำหนดตารางการทำงานอย่างเช่น Asgard System's Time Tracker, TimeClock Scheduler และ TimeCurve Scheduler ที่ทำให้คุณสามารถสร้างตารางงานขึ้นมาได้เอง หาปัญหาในการจัดตารางก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น และติดตามเวลาการทำงาน และรายได้ของพนักงานในแบบเรียลไทม์

10. หาวิธี "จ่ายภาษี" ให้ง่ายขึ้น (และน้อยลง) ในประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทที่มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 10 ล้านเหรียญจำเป็นต้องยื่นเสียภาษีออนไลน์ เพราะเอสเอ็มอีในสหรัฐอเมริกากำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางการจึงต้องจัดการระบบภาษีของเอสเอ็มอีเหล่านี้ให้รวดเร็วและง่ายที่สุด

ดังนั้น สำหรับเอสเอ็มอีไทยที่ยังไม่คุ้นเคยกับการมีรายได้สูงๆ หรือการจ่ายภาษีแบบออนไลน์ดูแล้วล่ะก็ ลองฝึกให้คุ้นเคยเสีย

โค๊ด การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และได้รับผลตอบแทนกลับมาเป็น "ความรวย" นั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งวิสัยทัศน์ที่แจ่มชัด, ความทะเยอทะยานและทุ่มเท ตลอดจนการทำงานอย่างหนัก


จาก Entrepreneur's StartUps (www.entrepreneur.com) June 2006

เรียบเรียงโดย กมลวรรณ มักการุณ