0

รายการที่ชื่นชอบ

ภัยร้ายรายวัน : ภัยสุขภาพ! จาก บรรจุภัณฑ์ ‘พลาสติก’

ภัยร้ายรายวัน : ภัยสุขภาพ! จาก บรรจุภัณฑ์ ‘พลาสติก’

ปัจจุบันการบริโภคอาหาร คงหนีไม่พ้นภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารหรือเครื่องดื่ม หลากหลายรูปแบบ อาทิ ถุงพลาสติก กล่องโฟม ขวดพลาสติก หรือแม้แต่ฟิล์มห่อหุ้มอาหาร เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่หารู้ไม่ว่า? พลาสติกที่นำมาใส่อาหารนั้นสามารถทำเกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวานได้!!!



พลาสติก โฟม และแผ่นฟิล์มใส ทำมาจากส่วนประกอบของพลาสติก ที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับกรรมวิธีการผลิต จึงทำให้มีคุณสมบัติต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ เช่น พลาสติกชนิด PP Film (Polypropylene) ใช้ทำถุงทนความร้อน สามารถบรรจุอาหารร้อน หรือใช้กับเตาไมโครเวฟได้, PE Film (Polyethylene) สามารถทนกรดด่าง เป็นฉนวนไฟฟ้า ทนความเย็น แต่ทนความร้อนได้ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารแช่แข็ง และ PS Film (Polystyrene) มีความแข็งแรงเหนียว ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ เหมาะสำหรับบรรจุอาหารสด ผักสด และใช้ได้กับถาดโฟม แต่ไม่ควรใช้กับอาหารร้อนเกิน 70 องศาเซลเซียส

แต่บรรดาผู้บริโภคจะได้ของแถมที่มากับบรรจุภัณฑ์?! นั่นคือ สารละลายของพลาสติกที่ออกมาสู่อาหาร คือ Monomer ที่ใช้ทำพลาสติก เป็นสารอันตราย ทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น VCM Stylene monomer เป็นต้น และยังมีสารเติมเต็ม ได้แก่ สาร PlasticiZer เช่น กลุ่มฟอสเฟต และกลุม Talate, สาร Antioxidant สารที่ช่วยป้องกันพลาสติกเสื่อมสภาพ เช่น Phenlo, Bis-phenol



โดยนักวิจัยพบผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ มีสาร BPA ในปัสสาวะ สูงกว่าคนทั่วไป ซึ่งสารอันตรายนั้นมาจากพลาสติก!

สาร BPA คืออะไร.?.

‘เดวิด เมลเซอร์ (David Melzer)’ และคณะนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพนินซูลา (Peninsula Medical School) เมืองเอ็กซ์เตอร์ (Exeter) สหราชอาณาจักร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของ ‘ไบฟีนอล เอ หรือ บีพีเอ (Biphenol A: BPA) สารอันตรายจากพลาสติก’ ที่สะสมสะสมในร่างกาย กับสถานะของสุขภาพในประชากรกลุ่มตัวอย่าง

พบผู้ป่วยโรคหัวใจและเบาหวานส่วนใหญ่ มีสารดังกล่าวเจือปนอยู่ในปัสสาวะมากกว่าคนทั่วไป



เมื่อแบ่งค่าความเข้มข้นของ BPA เป็น 4 ส่วน พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 4 ที่มีความเข้มข้นของ BPA ในปัสสาวะสูงที่สุด มีระดับความเข้มข้นของ BPA ในปัสสาวะสูงกว่าประชากรอีก 1 ใน 4 ที่มี BPA ต่ำสุด ราว 3 เท่า ในกรณีของโรคหัวใจ และ 2.4 เท่า ในกรณีของโรคเบาหวาน และนอกจากนี้ยังพบว่า ค่าความเข้มข้นของ BPA ที่สูง ยังเกี่ยวพันกับความผิดปรกติของเอนไซม์ในตับ อีกด้วย ส่วนโรคอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ยังไม่พบว่าสัมพันธ์กัน

ทั้งนี้ BPA เป็นสารเคมีที่ใช้ทั่วไปในการผลิตภาชนะ, บรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก และยังพบว่ามีปนเปื้อนอยู่ในฝุ่นละอองทั่วไป เมื่อสูดหายใจเข้าไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

การป้องกันอันตรายจากสารเคมีในพลาสติก คือ ไม่ควรนำพลาสติกที่ใช้ได้ครั้งเดียว กลับมาใช้ใหม่ และพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารต้องไม่มีสี

ถ้ารู้จักระมัดระวังการใช้พลาสติกในการบรรจุอาหารที่ดี ร่างกายของคุณก็จะปลอดภัยจากสารเคมี

ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ หรือนาทีชีวิตกันได้ที่ athitayar@dailynews.co.th

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=64796&NewsType=2&Template=1
"