0

รายการที่ชื่นชอบ

รู้จักพลาสติก

1. พลาสติกสำหรับบรรจุอาหารควรมีลักษณะอย่างไร ? พลาสติกที่จะนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ต้องมีน้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทกได้สูง เมื่อนำมาบรรจุอาหารจะต้องไม่ทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยน ทนสารเคมีได้ดีเยี่ยม นอกจากใช้งานง่ายแล้วยังสามารถกำจัดง่าย และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า Barrier Plastic

2. ถุงร้อน (พีพี) กับถุงเย็น (พีอี) แตกต่างกันอย่างไร และนำไปใช้ใส่อะไร ? ถุงเย็น ทำมาจากโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) มีลักษณะใส นิ่ม และยืดหยุ่นได้ สามารถใช้บรรจุของเพื่อแช่แข็งได้ที่อุณหภูมิต่ำ สุดถึง –40 องศาเซลเซียส แต่ถุงเย็นไม่เหมาะที่จะใช้บรรจุไขมัน หรือน้ำมันต่างๆ ต่อมาจึงมีการผลิต ถุงร้อน ซึ่งผลิตจากโพลีโพพิลีน (PP) มีลักษณะใสกว่า ถุงเย็น ไม่ยืดหยุ่น บรรจุพวกไขมันได้ดี รวมทั้งใช้บรรจุของร้อนได้ถึงจุดน้ำเดือด แต่ใช้บรรจุของเย็น ได้ที่อุณหภูมิต่ำสุดเพียง 0 องศาเซลเซียสเท่านั้น

3. ทำไมถุงใส่กาแฟต้องมีพลาสติกเคลือบด้านใน ? ถุงที่บรรจุอาหาร ประเภท กาแฟผงสำเร็จรูป หรือ ขนมขบเคี้ยว จำเป็นต้องมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถป้องกันการผ่านเข้า-ออกของไอน้ำ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ตลอดจนรังสียูวีได้ เพื่อเป็นการถนอมความกรอบ และรสชาติของอาหารให้สมบูรณ์จนกระทั่งถึงมือ ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ถูกทำขึ้นเป็นพิเศษโดย นำแผ่นฟิล์มพลาสติกมาผ่านกระบวนการ Metalization ด้วยเครื่อง Metalized Coating Machine

4. พลาสติกบรรจุอาหารมีการเติมสีลงในกระบวนการผลิตขั้นตอนไหน ? เติมสีในขั้นตอนก่อนการเป่าขึ้นรูป โดยใช้ผงสีผสมโดยตรงกับเม็ดพลาสติก

5. คุณสมบัติของพลาสติกประเภท PP ? พีพี เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุด มีสมบัติเชิงกลดีมาก เหนียว ทนต่อแรงดึง และทรงตัวได้ดี มีจุดหลอมที่ 65 องศาเซลเซียส ไอน้ำ และออกซิเจน ซึมผ่านได้ต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก ใช้ทำถุงร้อน หรือบรรจุอาหารที่ไม่ต้องการให้ออกซิเจนซึมผ่าน พลาสติกหุ้มซองบุหรี่ ภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

6. เครื่องมือในการให้ความร้อนเพื่อให้ฟิล์มหดหดตัวใช้อะไรได้บ้าง ? เครื่องเป่าผมหรือปืนร้อน เป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดสำหรับการผลิตจำนวนน้อยๆ น้ำหนักเบา มีความคล่องตัวสูงกว่าอุปกรณ์อื่นเคลื่อนย้ายสะดวก ให้ความร้อน ได้ในช่วงตั้งแต่ 20 องศา – 400 องศาเซลเซียส ตู้อบ เป็นแบบเปิดรับบรรจุภัณฑ์สินค้าที่สวมฟิล์ม หรือผนึกฟิล์ม 3 ด้าน อุโมงค์ความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการให้ความร้อนแก่ผลิตภัณฑ์ที่ห่อด้วยฟิล์มหด หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ปิดผนึกแล้วจะถูกส่งไปที่ อุโมงค์ร้อน เพื่อให้ฟิล์มหดตัวที่อุณหภูมิ 93-176 องศา เวลาที่ใช้ในอุโมงค์ขึ้นกับชนิด และความหนาของฟิล์ม บ่อแช่น้ำร้อน ตัวสินค้าจะห่อด้วยฟิล์มชนิด High Performance ที่มีความเหนียวสูงที่ปิดผนึกทุกด้านแล้วจึงนำไปหย่อนแช่ในน้ำร้อนตาม เวลาและอุณหภูมิที่ตั้งไว้

7. ถุงพลาสติกหรือฟิล์มปิดอาหารที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ? ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม คือ สามารถสกัดกั้นความชื้นแสงแดดหรือก๊าซต่าง ๆ ได้เพราะเรื่องนี้จะมีผลต่อคุณภาพของอาหารที่บรรจุอยู่ภายในแต่ เนื่องจากฟิล์มพลาสติก แต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการสกัดกั้นต่างกัน จึงต้องใช้ฟิล์มพลาสติกหลายชนิด เพื่อจะได้ฟิล์มพลาสติกหลายชั้นที่มี คุณสมบัติครบถ้วนตามความต้องการชึ่งมีตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป

8. ใช้พลาสติกอย่างไรให้ปลอดภัย พลาสติก และโฟมถือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและใช้อย่างแพร่หลายมากกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีราคาถูก ใช้สะดวกและหา ซื้อได้ง่าย โดยเฉพาะใช้ในการบรรจุอาหาร แต่พลาสติก และโฟมก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้บรรจุอาหารบางชนิดอยู่ ถ้านำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือนำ มาใช้ซ้ำอาจทำให้สารเคมีจากพลาสติกละลายปนเปื้อนลงสู่อาหารได้ ตามมาตรการของภาชนะบรรจุพลาสติกของกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศ ฉบับที่ 111 กำหนดให้พลาสติกบรรจุอาหารต้องสะอาด ไม่มีสีปนเปื้อนในอาหาร หรือไม่มีสารอื่นออกมาปนเปื้อนกับอาหารในปริมาณที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพและไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคตลอดจนกำหนดให้พลาสติกที่เป็นแผ่นหรือเป็นถุง หากนำมาใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารต้องไม่ทำขึ้นจาก พลาสติกที่ใช้แล้ว ในส่วนการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ดีบุก แบเรียม ต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อกรัม ดังนั้นพลาสติกที่นำ กลับมาใช้ใหม่ซึ่งใส่สีต่างๆ รวมทั้งสีดำจึงไม่ควรนำมาใช้ใส่อาหาร อาหารพร้อมบริโภคหรืออาหารที่พร้อมนำไปปรุง เช่น เนื้อหมูหมักควรบรรจุในกล่องใส่อาหารที่ไม่มีสี สังเกตที่ก้นภาชนะ พลิกขึ้นดูจะพบสัญลักษณ์รูป แก้วและส้อม ส่วนใหญ่จะพบสัญลักษณ์เลข 5 ซึ่งผลิตจากพลาสติกโพลิโพพิลีน หรือพีพี

9. ตัวอย่างการใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารผิดวิธี ห้ามนำภาชนะพลาสติกที่ไม่ใช่เกรดใส่อาหารมาใช้ เช่น นำพลาสติกรีไซเคิลที่นำกลับมาหลอมขึ้นรูปใหม่และผสมสีในการผลิตโดยไม่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ ใส่อาหาร เช่น นำกล่อง ตะแกรง ถังพลาสติกหรือกาละมังพลาสติกสีสดหรือสีดำมาใส่อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ อาหารหมักดอง ใส่ น้ำจิ้มที่ผสมน้ำส้มหรือน้ำมะขามเปียก อาหารที่มันทั้งจากเนย น้ำมันและน้ำกะทิ เพราะอาหารเหล่านี้สามารถละลายสารเคมีออกมาเจือปนกับอาหารได้ จึงไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อาหารที่มีความเป็นกรดควรใส่ขวดที่ทำจากแก้ว กระเบื้อง และสแตนเลส ทั้งนี้การล้างพลาสติกควรใช้วัสดุที่ไม่ขูดให้เกิด รอยบนพลาสติกนอกจากนี้ไม่ควรนำพลาสติกที่ใส่ของเย็นมาใส่ของร้อน เช่น นำกระติกพลาสติกใส่น้ำแข็งมาใส่ข้าวสวยหรือข้าวเหนียวเพื่อรักษาความ ร้อนไว้ถ้าต้องการให้ข้าวร้อนควรนำหม้อพร้อมฝาปิดใส่ในกระติกอีกหนึ่งชั้นเพื่อไม่ให้ข้าวสัมผัสกับกระติกโดยตรงและไม่ให้ไอน้ำหยดใส่อาหาร การใช้ ผ้ารองกระติกไม่สามารถลดการปนเปื้อนได้

ขวดพลาสติกชนิดบรรจุน้ำดื่มโดยทั่วไปผลิตจากพีอีทีหรือพีอีทีอีสังเกตที่ใต้ขวดมีสัญลักษณ์หมายเลข 1 ในรูปสามเหลี่ยมรีไซเคิลขวดนี้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ เพียงครั้งเดียวจึงไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำและไม่ควรทิ้งขวดน้ำไว้ในที่ร้อน แต่ถ้าต้องการใช้ขวดพลาสติกเพื่อใส่น้ำดื่มแช่เย็น ควรใช้ขวดที่ผลิตขึ้นเพื่อใส่ น้ำดื่มโดยตรงตามที่ระบุในฉลาก ซึ่งผลิตจากโพลีเอทีลีนความหนาแน่นสูงและมีสัญลักษณ์หมายเลข 2 ในรูปสามเหลี่ยมรีไซเคิลนอกจากนี้ควรเปลี่ยน ขวดใหม่หลังจากผ่านการล้างและใช้งานมานานตัวอย่างการใช้ขวดพลาสติกในน้ำและเครื่องดื่มผิดวิธี คืออย่าทิ้งขวด PET/PETE บรรจุน้ำดื่มไว้ในรถที่ จอดตามแดด ซึ่งจากการทดลองของห้องปฏิบัติการในสวิสเซอร์แลนด์พบว่า ขวดน้ำที่ทิ้งไว้ถูกแดดร้อน 60 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของ สาร DEHA ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตพลาสติก ถุงพลาสติกที่ใช้งานทั่วไปซึ่งผลิตจากโพลิโพพิลีนหรือพีพีมีหลายประเภท เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว (ถุงก๊อบแก๊บ) ถุงขยะ ถุงร้อน และถุงเย็น จึงต้องเลือก ใช้ให้ถูกวิธี ถุงร้อนชนิดบรรจุอาหารทำมาจากโพลิโพพิลีนมีความใสกว่าถุงเย็น ถุงชนิดนี้ใส่อาหารร้อนได้ ส่วนถุงเย็นทำจากโพลิเอทิลีนชนิดความหนา แน่นต่ำ ไม่ควรนำมาใส่อาหารร้อน ตัวอย่างการใช้ถุงพลาสติกที่ผิดวิธี คือ นำถุงร้อนมาใส่อาหาร เช่น ข้าวเหนียว ขนมถ้วย ลูกชิ้น และนำไปนึ่งหรืออุ่น ในไมโครเวฟ โดยไม่แกะถุงออก หรือห้ามนำถุงหูหิ้วชนิดขุ่นอาจมีสีหรือไม่มีสีมาใส่อาหาร เพราะถุงชนิดนี้ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อใส่อาหารเมื่อนำมาใช้ใส่อาหาร ที่มีความร้อนมักพบว่าจะกลายเป็นกรด ซึ่งอาจละลายสารเคมีบางชนิดไปปนเปื้อนในอาหารได้การรองด้วยกระดาษชิ้นเล็กๆ ไม่สามารถลดการปนเปื้อนได้ จึงควรใส่อาหารในถุงร้อน ก่อนใส่ในถุงหูหิ้ว การใช้กล่องโฟมมาใส่อาหารร้อนหรือมันซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดวิธีเพราะอาจละลายเอาสารสไตรีนออกมาปนเปื้อนกับอาหารสไตรีนจัดเป็นสารก่อมะเร็งและมีพิษ ต่อระบบประสาทถ้าอาหารมีไขมันสูงและมีความร้อนก็ยิ่งจะทำให้มีการละลายของสไตรีนออกมาปนเปื้อนในอาหารสูงขึ้นด้วยโฟมถูกขีดข่วนเป็นรอยได้ง่าย จึงไม่ควรนำกล่องโฟมที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมาใช้ซ้ำ

 

 

http://fitplaspack.com/knowleage.php