0

รายการที่ชื่นชอบ

ทัศนะคติบอด

ทัศนคติบอด
ชนะโทรไปบริษัทนี้เป็นหนที่สองในรอบสัปดาห์นี้ บริษัทนี้เป็นลูกค้ารายใหม่ที่เขากำลังติดตามเรื่องอยู่
เสียงของโอเปอร์เรเตอร์ซึ่งรับสายด้วยเสียงที่เป็นมิตร และอ่อนโยนกล่าวว่า " สวัสดีคะบริษัทเอบีซีอิงค์ ยินดีต้อนรับคะคุณชนะกล่าวว่า " ผมขอเรียนสายกับคุณสมจิต ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หน่อยครับ "


โอเปอร์เรเตอร์กล่าวทักขึ้นมาว่า " นั่นคุณชนะใช่ไหมคะ" ชนะรู้สึกแปลกใจความสามารถในการจดจำเสียงของพนักงานคนนี้ได้ เขากล่าวตอบด้วยเสียงที่เต็มไปด้วยความประทับใจ " ใช่แล้วครับ ขอบคุณที่จำได้ครับ " เธอกล่าวว่า " ยินดีคะ ดิฉันจะโอนสายให้นะคะ " หลังจากที่ชนะสนทนาเรื่องงานกับสมจิตจบ ชนะจึงถามสมจิตขึ้นมาว่า " คุณสมจิต ผมขอชม พนักงานรับโทรศัพท์ของคุณหน่อยครับ เธอเก่งจริงๆเลยที่จำเสียงผมได้ เป็นการให้บริการที่เกินความคาดหวังของผมจริงๆเลยครับ ผมเองไม่ได้เป็นลูกค้าประจำ และก็ไม่ได้โทรมาบ่อยๆ ขนาดที่เธอจะจำเสียงผมได้ด้วย เธอมีเคล็ดลับอะไรครับ "


สมจิตพูดว่า " เธอชื่อเรณูคะ เธอได้รับคำชมอย่างนี้บ่อยๆ หากคุณฟังเรื่องของเธอมากขึ้นกว่านี้คุณจะ ยิ่งประทับใจ สนใจฟังไหมละคะ" ชนะรีบกล่าวตอบด้วยความกระตือรือร้นว่า " สนใจสิครับ ช่วยกรุณาเล่าให้ฟังหน่อยครับ " สมจิตเริ่มต้นเล่าอย่างอารมณ์ดี " คุณเรณูเธอตาบอดคะ  

ธอจึงต้องอาศัยการฟังเพียงอย่างเดียว ทำให้เธอสามารถจดจำชื่อคนได้ดี เธออาศัยอยู่ที่สมุทรปราการและมาทำงานที่ออฟฟิศนี่ ซึ่งอยู่แถวดอนเมือง ซึ่งถือว่าไกลมากโดยเฉพาะสำหรับเธอ ซึ่งต้องเดินทางโดยรถเมล์เหมือนคนปกติ ส่วนใหญ่ก็ จะมีคนตาดีอย่างพวกเราที่คอยช่วยดูสายรถเมล์ และส่งเธอขึ้นรถให้ เธอไม่เคยมาสายเลย และก็ไม่เคยเรียกร้องขอรถรับส่งแต่อย่างใด ไม่เหมือนพนักงานปกติของพวกเราหลายคน ตอนที่เราย้ายสำนักงานจากในเมือง ต้องขอรถรับส่งให้ด้วย


แถมหลายๆคนที่มีรถส่วนตัวก็ยังมาทำงานสาย พร้อมกับเหตุผลสารพัด คิดแล้วอายแทนคนตาดีเลยคะ "
เธอหยุดเว้นจังหวะสักครู่ก่อนจะเล่าต่อว่า " คุณเรณูมีทัศนคติที่ดีมากๆกับงานของเธอ เธอเคยเล่าให้ดิฉันฟังว่าสำหรับเธอแล้ว การรับโทรศัพท์ไม่ใช่งานแต่มันคือชีวิต เงินเดือนที่บริษัทให้กับเธอ ทำให้เธอสามารถเลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้อย่างดี นอกจากนี้เธอยังมีเงินเหลือกว่าครึ่งสะสมไว้อีก ที่จริงแล้วเพื่อนคนตาดีหลายคนเคยหยิบยืมจากเธอในยามฉุกเฉิน

คุณเรณูกล่าวว่าบริษัทเรา เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และสังคมมอบโอกาส ให้เธอได้พิสูจน์ว่าเธอมีคุณค่าและสามารถมีส่วนรวมสร้างสรรค์ประโยชน์ ให้กับสังคมได้ เธอบอกว่าเธอพยายามทำงานของเธออย่างสุดความสามารถ ซึ่งรวมทั้งพยายามจำชื่อของผู้ที่โทรเข้ามาด้วย เธอบอกว่าทุกคืนก่อนเข้านอน เธออยากรีบนอนไวๆ เพื่อจะได้รีบตื่นข ึ้นมาทำงาน เธออดใจรอจะมาทำงานไม่ไหว


แหมอย่าหาว่าดิฉันบ่นเลยคะ แต่พวกตาดีๆอย่างพวกเรากลับภาวนา ให้ถึงวันหยุดเร็วๆเสียนี่กระไร" สมจิตจบเรื่องด้วยเสียงหัวเราะเบาๆ อย่างคนอารมณ์ดี เมื่อชนะมาเล่าเรื่องนี้ให้กับผมฟังในรถระหว่างที่เราเดินทางไปพบลูกค้าที่นวนคร ผมจึงเสริมความเห็นของผมไปว่า " เราน่าจะเล่าเรื่องนี้ให้คนที่มาเข้าอบรม
กับเราฟังบ้างนะ บ่อยครั้งเรามักจะได้ยินคนบ่นว่างานหนัก  หรือไม่ก็ปัญหาเรื่องงานมีมาก

สิ่งที่คุณเรณูมีแตกต่างกับเรา  ไม่ใช่ว่าเธอตาบอดหรอกครับ ความจริงพวกเราต่างหากที่บอด เราทัศนคติบอดไงละ เราได้รับสิทธประโยชน์ต่างๆมากมาย จากนายจ้างจนเคยชินกระทั่งมองไม ่เห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น ยิ่งนานวันเรายิ่งเรียกร้องมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงปลายปีแบบนี้ ในขณะที่คุณเรณูกลับมองแตกต่างกับเราอย่างสิ้นเชิง บางคนเบื่องานจนอยากลาออกไปอยู่กับบ้านเฉยๆ มัน

ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของ Dr. Denis Waitley ผู้แต่งหนังสือขายดีชื่อ 'The psychology of winning' เขายกรายงานวิจัยในอเมริกาที่บอกว่าผู้เกษียณอายุออกจากงานไป โดยไม่มีภาระกิจอะไรทำมีอายุเฉลี่ยเพียงแค่เจ็ดปีเท่านั้น พวกเขาตายเพราะความรู้สึกด้อยคุณค่า หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าเฉาตายนั่นเองครับ เราบางคนมีโอกาสได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองรัก ในขณะที่คนจำนวนมากไม่มีโอกาสอย่างนั้น อย่างไรก็ตามเรามีสิทธิที่จะเปลี่ยนมุมมองโดยหันมารัก และหลงไหลในสิ่งที่เราทำได้ โดยไม่ต้องรอให้ตาบอดแบบคุณเรณูก็ได้ "