0

รายการที่ชื่นชอบ

อาหารทะเล คอเลสเทอรอลสูงน่ากลัว จริงหรือ?

อาหารทะเล คอเลสเทอรอลสูงน่ากลัว จริงหรือ?

โดย อนุรัตน์ โควคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและปฏิบัติการ บริษัทยูเนียนโฟร
เซน โปรดักส์ กรุ๊ป จำกัด [22-2-2008]

กระแสการบริโภคอาหารทะเลมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น
อเมริกา สหภาพยุโรป หรือญี่ปุ่น และประเทศไทยก็เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เสียด้วย
แต่มักได้ยินกันว่า อาหารทะเลมีคอเลสเทอรอลสูง และถ้าเป็นเช่นนั้น ประเทศที่
เจริญแล้วเขาไม่กลัวกันหรือ ลองมาไขปริศนากันดู แล้วท่านอาจพบว่าอาหารทะเล ถือ
ว่าเป็นอาหารสุขภาพได้ดีทีเดียว และคนไทยเราอาจพลาดโอกาสเพราะเข้าใจผิดมาโดย
ตลอด

มีผู้บริโภคจำนวนมากที่คิดว่าอาหารทะเล โดยเฉพาะเนื้อกุ้งขาวและปลาหมึก ไม่ดี
ต่อสุขภาพ เนื่องจากว่ามีคอเลสเทอรอลสูง และก็จริงที่ว่าอาหารทะเลทั้ง 2 ชนิดมี
ปริมาณคอเลสเทอรอลสูงกว่าเนื้อหมู และเนื้อไก่ แต่เนื้อปลาซึ่งก็เป็นอาหารทะเล
ที่มีให้เลือกบริโภคได้หลากหลายชนิด เช่น เนื้อปลาอินทรี เนื้อปลาเก๋า เนื้อปลา
กะพง  เป็นต้น ล้วนมีปริมาณคอเลสเทอรอลที่ต่ำกว่า
 
ดังนั้น การแนะนำให้บริโภคอาหารทะเล คือ ไม่ใช่การบริโภคเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง
แต่ให้บริโภคสลับกันไปมาตามความเหมาะสมของเวลาและโอกาส ซึ่งถ้าเราบริโภคปลาหมึก
กุ้งขาว และปลารวมกันในปริมาณที่เท่าๆ กัน ค่าเฉลี่ยของปริมาณคอเลสเทอรอลจะอยู่
ใกล้เคียงในระดับเดียวกับการบริโภคเนื้อหมูและเนื้อไก่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความ
เสี่ยงจากคอเลสเทอรอลยังไม่แตกต่างกันมากนัก แต่สารอาหารที่แตกต่างกันมากในองค์
ประกอบของอาหารทะเลกับเนื้อสัตว์ ก็คือ ไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันตัวร้ายต่อ
ร่างกาย
     
ในอาหารทะเล ทั้งปลาหมึก กุ้งขาว และเนื้อปลา มีค่าเฉลี่ยของไขมันอิ่มตัวต่ำ
ประมาณ        0.17-0.29 กรัม ต่อเนื้อ 100 กรัม ซึ่งเมื่อเทียบกับเนื้อหมู มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5-2.0 กรัม ต่อเนื้อ 100 กรัม และเนื้อไก่มีค่าเฉลี่ยอยู่
ที่ 0.3-4.4 กรัม ต่อเนื้อ 100 กรัม  จะเห็นได้ว่าในเนื้อหมู และเนื้อไก่มี
ปริมาณไขมันอิ่มตัวที่สูงกว่าอาหารทะเล 2-15 เท่าเลยทีเดียว
     
อันตรายที่เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือด เกิดจากองค์ประกอบหลัก 2 ตัว คือคอเล
สเทอรอล และไขมันอิ่มตัว โดยคอเลสเทอรอลยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเทอร
อลที่มีแอลดีแอล (LDL) เป็นตัวพา เรียกว่าคอเลสเทอรอลชนิดไม่ดี กับคอเลสเทอร
อลที่มีเอชดีแอล (HDL) เป็นตัวพา จึงถูกเรียกว่าคอเลสเทอรอลชนิดดี เพราะไม่เป็น
อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งต่างจากไขมันอิ่มตัว
 
เพราะไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ล้วนแล้วแต่อันตรายทั้งสิ้น เพราะหากเรารับประทาน
ไขมันอิ่มตัวมาก ไขมันในเส้นเลือดก็จะสูงขึ้นทันที และไขมันอิ่มตัวยังเป็น
ปัจจัยหลักในอาหารที่เพิ่มระดับคอเลสเทอรอลในเลือดให้สูงขึ้นด้วย ดังนั้น คอเล
สเทอรอลจากการบริโภคอาหารทะเลทุกชนิดรวมกันมีค่าเฉลี่ยไม่ต่างจากการบริโภคเนื้อ
หมูและเนื้อไก่มาก
     
แต่ไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวอันตรายต่อการอุดตันของเส้นเลือด ไม่แพ้คอเลสเทอร
อลในอาหารทะเลมีต่ำกว่ามาก ซึ่งต่ำกว่าเนื้อหมูและเนื้อไก่หลายเท่าทีเดียว
     
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “อาหารทะเล เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ”
     
สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกกรณีหนึ่งก็คือ การที่ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคอาหารทะเล ซึ่ง
ถือได้ว่ามากที่สุดในโลก มีผลให้ปัจจุบันประชากรญี่ปุ่นมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 82
ปี ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในโลก และจากการสำรวจล่าสุดพบว่าชาวญี่ปุ่นที่มีอายุ
มากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีสูงถึง 22% เทียบกับประเทศแถบยุโรป มีประชากรที่มีอายุ
มากกว่า 65 ปี ขึ้นไป 17-19% และท่านเชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยของเราในปัจจุบัน
มีประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป  เพียง 8% เท่านั้น
     
จึงอยากสนับสนุนให้คนไทยมีอายุยืนยาวเหมือนชาวญี่ปุ่น โดยควรหันมาบริโภคเนื้อ
สัตว์ที่ให้โปรตีนเปลี่ยนไปจากอดีตที่บริโภคเพียงเนื้อหมู และเนื้อไก่ เท่านั้น
โดยหันมาบริโภคอาหารทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เชื่อว่า อายุขัยเฉลี่ยของ
คนไทยจะสูงตามชาวญี่ปุ่นอย่างแน่นอน
     
“อยากให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงกันทุกคน”
                                        
หมายเหตุ
**ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอันตรายจากคอเลสเทอรอล และไขมันอิ่มตัวได้ที่
website ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี www.siamhealth.net
<http://www.siamhealth.net/>
**ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประชากรของญี่ปุ่นได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Demography_of_japan  และประชากรของประเทศไทยเรา
ได้ที่
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html
** http://www.nutritiondata.com <http://www.nutritiondata.com/>